ข้าว เป็นพืชอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียที่นิยมรับประทานข้าวเป็นอาหารประจำวันมากกว่าในภูมิภาคอื่นๆของโลก การผลิต บริโภคและการค้าข้าวส่วนใหญ่จึงอยู่ในแถบทวีปเอเชีย แต่ข้าวที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะใช้ในการบริโภคภายในประเทศ โดยประเทศที่มีบทบาทมากที่สุดในการส่งออกข้าว คือประเทศไทย อินเดีย เวียดนาม จีนและพม่า ข้าวนับเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา หลายสินล้านคน แต่ละปีเราเป็นผู้ส่งออกข้าว นำรายได้เข้าประเทศ ร่วมสองแสนล้านบาท
ข้าวถือเป็นสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ ที่ระดับราคาในตลาดโลกเป็นไปตามกลไกตลาด อย่างแท้จริง นั่นคือราคาตลาดโลกจะปรับขึ้นหรือลงย่อมขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน เมื่อใดที่อุปทานมากกว่าอุปสงค์ราคาในตลาดโลกก็จะปรับลดลง และถ้าปีใดอุปสงค์มากกว่าอุปทานราคาก็จะสูงขึ้น โดยทั่วไปตลาดข้าวในประเทศไทยจะมีความเชื่อมโยงกับตลาดโลกอย่างใกล้ชิด เมื่อใดที่สถานการณ์ตลาดโลกทำให้ราคาตลาดโลกเพิ่มขึ้น ราคาข้าวในประเทศก็มีแนวโน้มปรับสูงตามไปด้วย
เมื่อใดที่ราคาข้าวในประเทศไทยตกต่ำ โดยมากจะเกิดในช่วงที่มีข้าวออกมามากพร้อมๆ กัน รัฐบาลก็จะใช้ โครงการรับจำนำข้าเปลือก เพื่อพยุงราคาข้าวไว้โดยรัฐบาลจะรับซื้อข้าวเปลือกในราคาที่ประกาศ (เรียกว่าราคาประกัน) เพื่อดูดอุปทานข้าวออกจากตลาดซึ่งราคาประกันแต่ละปีก็จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาตลาด สำหรับการรับจำนำนี้ทำได้ 2 รูปแบบ คือ จำนำที่ยุ้งฉางเกษตรกร หรือจำนำที่โรงสีที่เข้าร่วมโครงการฯ แบบแรกนั้น ธกส. จะเป็นผู้ดำเนินการโดยข้าวก็ฝากเกษตรกรไว้ ถ้าเป็นการรับจำนำที่โรงสีเกษตรกรก็ต้องขนข้าวมาที่โรงสี และก็จะได้รับเอกสารไปขึ้นเงินกับ ธกส. โรงสีก็มีหน้าที่สีข้าวส่งมอบแก่องค์การคลังสินค้า (อคส.) แต่ในความเป็นจริงข้าวเหล่านี้ก็ยังคงถูกเก็บไว้ที่โรงสี เพื่อรอเวลาจะระบายออกนอกประเทศ หรือในบางกรณี ก็มีการนำกลับมาใช้ในตลาดในประเทศก็ได้แล้วแต่นโยบาย ในอดีตที่ผ่านมาข้าวที่รัฐบาลเป็นเจ้าของผ่านโครงการรับจำนำ มักจะถูกเก็บไว้จนเสื่อมสภาพ หรือไม่ก็มีการล่องหนหายไปจากโกดัง ทำให้ไม่สามารถขายได้หรือถ้าขายได้ก็ได้ราคาต่ำมาก ดังนั้นโครงการรับจำนำข้าวจึงมักเกิดผลขาดทุนเสมอ การขาดทุนก็เนื่องจากซื้อแพงแต่ขายถูกหรือขายไม่ได้เลยก็มี
ในปี 2551 นี้ถือว่าเป็นปีทองของการส่งออกข้าวไทย โดยขณะนี้สถานการณ์ตลาดเป็นของผู้ขาย (ผู้-ส่งออก) อย่างแท้จริงโดยความต้องการบริโภคข้าวของโลก มี 424 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าผลผลิตรวมของโลกที่ 420.6 ล้านตัน ภาวการณ์ของตลาดโลกขณะนี้ พบว่า ประเทศผู้ส่งออกรายอื่น รวมทั้งผู้นำเข้าส่วนใหญ่ ก็มีผลผลิตไม่เพียงพอ ซึ่งเกิดจากการขาดแคลนข้าวในประเทศตน อันเนื่องมาจากปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่พอกับการบริโภคภายในจึงต้องลดหรือระงับการส่งออกข้าว ขณะนี้พบว่าประเทศเวียดนาม อินเดีย และอียิปต์ ได้ประกาศใช้มาตรการห้ามการส่งออกข้าวแล้ว บางประเทศยังใช้มาตรการกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำ ควบคู่กันอีกด้วย สำหรับประเทศจีนมีการเพิ่มการอุดหนุนในประเทศ และเก็บภาษีส่งออกข้าว ดังนั้นปริมาณข้าวที่จะเข้าสู่ตลาดโลกในปีนี้คงไม่เพิ่มไปจากปีก่อน หรืออาจลดลงก็ได้ ในขณะที่ความต้องการบริโภคข้าวในโลก ยังขยายตัวต่อเนื่อง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องแน่นอนที่สุดว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะต้องสูงขึ้น และโดยที่ไทยเป็นประเทศเดียวที่มีผลผลิตมากและสามารถส่งออกได้ตามปกติ ทุกประเทศจึงหันมาส่งซื้อข้าวจากไทย เรียกได้ว่ามีเท่าไรก็ขายหมดแน่
ข้าวหอมมะลิ
ข้าวหอมมะลิ (Thai jasmine rice) (Official name "Thai Hom Mali") ป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จัดเป็นข้าวนาปี ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ลักษณะข้าวเปลือกเรียวยาว เมื่อสีเป็นข้าวสารจะได้ข้าวเมล็ดเรียว ยาว ขาวใสเป็นเงา แกร่ง มีท้องไข่น้อย มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลก
ประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตทุ่งกุลาร้องไห้) และมีพื้นที่เพาะปลูกครอบคลุมกว่า 19 ล้านไร่ทั่วประเทศ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญ คือ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด รองลงมาคือภาคเหนือ เนื่องจากสภาพดินฟ้า-อากาศและพื้นที่เพาะปลูกของทั้งสองภาคคล้ายคลึงกัน เหมาะแก่การเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ กล่าวคือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอน ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ชาวนาจะเริ่มหว่านไถ ในเดือนมิถุนายน และเพาะปลูกอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เมื่อฝนเริ่มหมด ปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน จึงเริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนความชื้นจะน้อยเพราะเป็นช่วงที่ลมหนาวจากเมืองจีนเริ่มพัดเข้ามาในสองภาคนี้ ทำให้อากาศแห้งเหมาะในการเก็บเกี่ยว การตาก การนวด ก็ทำได้ง่าย เพราะน้ำแห้งนาหมดแล้ว ไม่มีฝน จึงทำให้ได้เมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ สำหรับการปลูกข้าวหอมจะทำกันได้ดีเฉพาะที่ที่เป็นนาดอนเสียเป็นส่วนใหญ่
เกรดในการจำหน่าย
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้แบ่งชั้นของข้าวหอมมะลิดังนี้
1. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5%
2. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15%
3. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30%
ซึ่งจะแสดงสถิติการส่งออกข้าว ข้าวหอมมะลิ ในปี พ.ศ. 2554 ดังกราฟต่อไปนี้
จากกราฟ จะเห็นได้ว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม ปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิสูงที่สุดถึง 244,813,151 กิโลกรัม ซึ่งสามารถนำรายได้เข้าประเทศไทยเป็นมูลค่าถึง 8,135,792,375 บาท แต่ในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้งทำให้ผลผลิตตกต่ำ ฝนไม่ตกตามฤดูกาล น้ำไม่เพียงพอต่อการทำนา จึงทำให้ในช่วงเดือนเมษายนไทยสามารถส่งออกข้าวหอมมะลิได้เพียง 148,512,576 กิโลกรัม นำรายได้เข้าประเทศ 3,678,408,414 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ. 2554 เดือนเมษายนมีปริมาณการส่งออกข้าวน้อยที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตลอดทั้งปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวหอมมะลิได้ถึง 2,358,958,499 กิโลกรัม และสามารถทำรายได้ให้กับประเทศไทยได้ถึง 63,584,098,925.0 บาท
ข้าวปทุมธานี
เป็นข้าวอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ ข้าวปทุมธานี มีจุดแข็งด้านการผลิต เป็นข้าวหอมสามารถปลูกได้ทั้งฤดูนาปี และฤดูนาปรัง สามารถขยายพื้นที่ได้ ลดความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งได้ดี ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนไม่มาก ด้านการตลาด ตลาดผู้บริโภคภายในและต่างประเทศยังมีแนวโน้มความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น จุดอ่อนด้านการผลิต พื้นที่ปลูกกระจัดกระจายในแหล่งผลิตต่างๆ มีการใช้พื้นที่ปลูกรวมกับข้าวพันธุ์อื่นๆ และอาจเกิดความเสียหายจากเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว โรคใบหงิกและใบสีส้ม ด้านการตลาด คุณภาพข้าวยังไม่ได้มาตรฐาน ยังไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้กับตลาดผู้บริโภค การรวบรวมเป็นข้าวชนิดเดียวกันทำได้ลำบาก และยังไม่มีเครื่องหมายการค้าของข้าวปทุมธานี ในตลาดผู้บริโภคและตลาดส่งออก โอกาสเป็นข้าวหอมที่มีคุณภาพดีกว่าข้าวขาวพันธุ์อื่นๆ และราคาไม่สูงมาก มีการใช้เทคโนโลยีการแปรรูปเพิ่มขึ้น อุปสรรคไม่สามารถแข่งขันกับข้าวหอมมะลิ ผู้บริโภคยังไม่รู้จักข้าวปทุมธานี 1 พ่อค้าระดับท้องถิ่น และโรงสีรับซื้อเหมือนข้าวขาวพันธุ์อื่นๆ พ่อค้าขายส่งและขายปลีกไม่มีการบรรจุภัณฑ์ข้าวปทุมธานี จำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งในปะ พ.ศ. 2554 ข้าวปทุมธานีสามารถทำรายได้ในการส่งออกให้กับประเทศไทยรวมทั้งหมดถึง 4,964,601,845.0 บาท มีปริมาณการส่งออกทั้งหมด 212,020,443 กิโลกรัม โดยในช่วงเดือนมิถุนายน ข้าวปทุมธานีสามารถทำรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นมูลค่าถึง 668,074,252 บาท ซึ่งถือได้ว่ามีการส่งออกข้าวมากที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายน แสดงปริมาณการส่งออกข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2554 ดังกราฟต่อไปนี้
นอกจากข้าวหอมมะลิและข้าวปทุมธานีที่สามารถสร้างรายได้ในการส่งออกข้าวทั้งสองสายพันธุ์ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาลนั้นยังมีข้าวสายพันธุ์อื่นๆที่สามารถสร้างสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย เช่น พันธุ์เก้ารวง 88 พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 พันธุ์ชัยนาท 2 และสายพันธุ์อื่นๆอีกหลายชนิด ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย ดังแสดงในกราฟปริมาณการส่งออกข้าวเจ้าชนิดอื่นๆ ดังต่อไปนี้
จากกราฟ จะเห็นได้ว่าปริมาณการส่งออกข้าวเจ้าชนิดอื่นๆที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง 12.90 % คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 12.358 % และในช่วงเดือนธันวาคม มีปริมาณการส่งออกข้าวเจ้าชนิดอื่นๆต่ำที่สุดถึง 3.52 % เมือเทียบกับข้ามหอมมะลิและข้าวปทุมธานี ปริมาณการส่งออกข้าวเจ้าชนิดอื่นๆสามารถทำรายได้ให้กับประเทศไทยถึง 8,135,250,183 กิโลกรัม ทำรายได้ให้ประเทศในปี พ.ศ. 2554 เป็นมูลค่าถึง 127,568,345,174.0 บาท ถึงแม้ว่าข้าวหอมมะลิและข้าวปทุมธานีจะเป็นที่รู้จักและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมาช้านาน แต่ข้าวเจ้าชนิดอื่นๆของไทยก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอีกด้วย
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ข้าวเป็นพืชที่ศักดิ์สิทธิ์มาแต่ไหนแต่ไร แต่ในปัจจุบันข้าวกำลังถูกทำให้หมดความศักดิ์สิทธิ์ลง เมื่อมีระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา มีคลองชลประทาน ทำให้สามารถปลูกข้าวนาปรังได้ พิธีกรรมต่างๆที่ชาวนาร่วมแสดงในการขอฝนก็จะหมดลงไปด้วย เมื่อการทำนาเป็นอาชีพที่มีรายได้ที่แน่นอนสามารถลืมตาอ้าปากได้ก็เท่ากับว่าเป็นการสร้างมิติใหม่ยกระดับชีวิตเกษตรกรไทยให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สมกับเป็นผู้ปลูกข้าวเลี้ยงคนทั้งประเทศและส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก แต่คงเป็นเรื่องน่าเศร้าไม่น้อยหากกระดูกสันหลังของชาติถูกลืมไว้ข้างหลังด้วยน้ำมือของคนไทยด้วยกันเอง !!
อ้างอิง : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
อ้างอิง : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร